วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


การเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีแนวคิดมาจากแนวคิดของ จอห์น  ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งเป็นต้นคิดในเรื่องของการเรียนรู้โดยการกระทำ หรือ learning by doing ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ โดยเปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้รับ” มาเป็น “ผู้เรียน”  และ บทบาทของ “ ครู” เป็น ผู้ถ่ายทอดข้อมูล มาเป็น “ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้”  ให้ผู้เรียนได้ปรับบทบาทนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจุดการเรียนรู้ 
ความหมายของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้
ชนาธิป พรกุล (2543; 50) ได้ให้ความหมายว่า การเรียนรู้ที่เกิดจากการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปเป็นความรู้โดยตัวผู้เรียนเอง ผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทหน้าที่จากการถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้วางแผน จัดการ ชี้แนะ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงหมายถึง การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ทิศนา แขมมณี (2548 : 120 ) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะได้รับ และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียรู้ต่างๆ อันจะนำผู้เรียนไปสูการเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง
สำลี รักสุทธี (2544 : 1) กล่าวว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดคือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ตามมาตรา 22-24 โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ กิจกรรมทางการศึกษา ลงมือปฏิบัติจริง ครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้บอกให้ความรู้อย่างเดียว เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวก คอยช่วยเหลือแนะนำ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียน
บรรพต สุวรรณประเสริฐ (2544 : 5) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดหมายถึง การกำหนดจุดหมาย สาระ กิจกรรม แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน และการประเมินผลที่มุ่งพัฒนา “คน” และ “ชีวิต” ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เต็มตามความสามารถ สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ (2542 : 35) กล่าวว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉงเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายเป็นวิธีการที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542 : 4) กล่าวว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือ การจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้เต็มที่
วชิราพร อัจฉริยโกศล (2548) กล่าวว่า การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ “กระบวนการเรียนรู้ที่ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการสำรวจสิ่งที่ศึกษาในด้านที่สนใจ ผลักดันให้หาคำตอบ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเข้าใจจากผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ซึ่งก็คือผู้สอนนั่นเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบทั้งตัวบุคคล รวมทั้งสติปัญญา ความคิด และความรู้สึก”
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 79) กล่าวว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนรวมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ได้คิดเอง ปฏิบัติเอง และมี ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้โดยครูเป็นผู้วางแผนร่วมกับผู้เรียน จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้น ท้าทาย ให้กำลังใจ และช่วยแก้ปัญหาหรือชี้แนะแนวทางการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
จากแนวความคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการ คิดริเริ่ม แสวงหา วิเคราะห์ จัดการความรู้ และลงมีปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองตามความต้องการและความสนใจ  และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


ที่มา http://www.kroobannok.com/blog/39847

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

7 เทคนิคการเรียนเก่ง

7 เทคนิคการเรียนเก่ง
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
          การพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากถ้า อยากเรียนเรียนเก่ง เพราะถ้าหากว่าเราพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ช่วงเวลาเรียนของเรานั้น ไม่สดชื่น สมองไม่แล่น และอาจถึงขั้นหลับในห้องเรียนได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความไม่เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงดังกล่าวนั่นเอง
          ดังนั้นเราจึงแนะนำให้น้องๆพักผ่อนกันให้เพียงพอโดยควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ในช่วงเวลาเรียนนั้นสมองสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้น้อง ๆเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างท่องแท้นั่นเอง



2. กล้าถามเมื่อสงสัย

          เทคนิคการเรียนเก่ง ข้อ2เป็นสิ่งที่ขัดกับนักเรียนไทยมากที่สุดเพราะข้อเสียที่สำคัญของเด็กไทยอย่างหนึ่งนั่นคือการไม่กล้าถามคำถามเมื่อสงสัย อาจเพราะกลัวว่าเพื่อนจะมองว่าโง่ หรืออายที่จะยกมือถามอาจารย์ แต่นั่นจะทำให้น้อง ๆ ไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้เลยแหละ เพราะเมื่อเก็บความไม่เข้าใจไว้หนึ่งคำถาม การเรียนต่อไปที่ต้องใช้พื้นฐานจากความเข้าใจเรื่องก่อนหน้า น้อง ๆ ก็จะไม่เข้าใจเพราะยังคงไม่เข้าใจบทเรียนก่อนหน้า และจะทำให้การเรียนของน้อง ๆ มีแต่คำถามที่ไม่เข้าใจเต็มไปหมด ดังนั้นถ้า อยากเรียนเก่ง "กล้าถาม" เถอะค่ะ การถามคำถามอาจารย์ในชั้นเรียนไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย หรือไม่ได้หมายความว่าคนที่ถามนั้นโง่ หลาย ๆ ครั้งคำถามที่น้องถามในห้องเรียนก็เป็นคำถามที่น่าสนใจ จนทำให้อาจารย์อึ้งได้เหมือนกันนะค่ะ


3. มีสมาธิในเวลาเรียน

          เคล็ดลับเรียนเก่ง ข้อต่อมาคือการมีสมาธิ ในเวลาเรียนนั้นต้องอย่าวอกแวกไปกับสิ่งที่รบกวนสมาธิทั้งหลายรอบ ๆ ตัว เช่น เพื่อนชวนคุย เพื่อนคุยกันเสียงดัง เสียงเตะบอลจากสนามบอล เสียงก่อสร้างข้าง ๆ โรงเรียน และอื่น ๆ อีกมากมาย สิ่งรบกวนบางอย่างเช่น เพื่อนชวนคุุย เพื่อนคุยกันเสียงดัง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้โดยการไม่นั่งในบริเวณใกล้ ๆ ก็ควรหลีกเลี่ยง การเรียนอย่างมีสมาธินั้นจะทำให้น้อง ๆ เข้าใจบทเรียนและทำคะแนนสอบได้ดีอย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่อาจารย์ออกข้อสอบก็ต้องเป็นสิ่งที่พูดในชั้นเรียนนั่นแหละ

4. จับประเด็นให้ได้
          คนที่เรียนเก่งอาจไม่ได้เก็บทุกคำพูดของอาจารย์ได้ แต่ต้องเป็นคนที่จับประเด็นสำคัญในบทเรียนนั้น ๆ ได้ การจับประเด็นนั้น เป็นเทคนิคการเรียนเก่ง ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยตั้งใจฟังว่าเนื้อหาไหนที่อาจารย์พูดย้ำ ๆ พูดว่าตรงจุดนี้สำคัญ หรือจุดนี้เคยออกข้อสอบ เมื่อจับประเด็นสำคัญได้ก็อย่าลืมขีดเส้นใต้หรือไฮไลท์ไว้ เพื่อที่เวลากลับมาอ่านทบทวนจะได้เน้นอ่านบริเวณเนื้อหาที่สำคัญ
5. อ่านเนื้อหาคร่าวๆก่อนเรียน
          การอ่านเนื้อหาคร่าว ๆ ไปก่อนเรียนเป็นสิ่งที่ควรทำถ้าหากมีเวลา เพราะการที่ได้อ่านเนื้อหาไปแล้วคร่าว ๆ นั้นจะทำให้พอที่จะจับประเด็นได้ว่าเนื้อหาที่กำลังจะเรียนนั้นพูดถึงเรื่องอะไร อีกทั้งเมื่ออ่านเนื้อหาไปก่อนเรียนนั้นจะทำให้เรามีข้อสงสัยในบางประเด็น แล้วเมื่อเรียนในห้องเรียนจะได้ถามข้อสงสัยเหล่านั้นกับอาจารย์ผู้สอนได้ทันที
6. อย่าสักแต่ว่าจด
          การเรียนในห้องเรียนนั้นอย่าเอาแต่จดสิ่งที่อาจารย์เขียนบทกระดาน ต้องฟังคำอธิบาย และทำความเข้าใจสิ่งที่อาจารย์พูดด้วย เพราะหลาย ๆ ครั้งที่เอาแต่จด โดยไม่ฟังและทำความเข้าใจเลย เราจะพบว่าเมื่อนำสิ่งที่จดนั้นกลับมาอ่านอีกครั้ง จะรู้สึกไม่เข้าใจเนื้อหาที่จดมาเลย
7. สอนเพื่อน ๆ ในเรื่องที่เข้าใจ
          มีงานวิจัยจำนวนมากมายได้พิสูจน์มาแล้วว่า วิธีการเรียนที่ทำให้จดจำได้ยาวนานที่สุดคือ "การสอน"  เพราะในการสอนนั้นผู้สอนจะต้องเข้าใจในเนื้อหาอย่างแท้จริง รู้ว่าเนื้อหาตรงจุดไหนสำคัญหรือไม่สำคัญ และสามารถลำดับเนื้อหาที่จะสอนเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ดังนั้นการสอนเพื่อนๆจะทำให้น้อง ๆ ได้ทำความเข้าใจเนื้อหานั้น ๆอย่างเป็นระบบ ทำให้น้อง ๆ ได้ทบทวนความรู้ ความเข้าใจของตัวเอง และทำให้มีแต่เพื่อน ๆ รักเรา เมื่อเราไม่เข้าใจตรงจุดไหนพวกเขาก็พร้อมที่จะอธิบายให้น้องฟังจนเข้าใจ

         

 ที่มา:http://www.top-atutor.com/15050384/7

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

จรรยาบรรณวิชาชีพครู


จรรยาบรรณวิชาชีพครูมี 5 ด้าน 9 ข้อ


1.จรรยาบรรณต่อตนเอง

ข้อที่ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ


2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
             ข้อที่ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

3.จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

ข้อที่ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กําลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
            ข้อที่ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
            ข้อที่ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกายวาจา และจิตใจ
            ข้อที่ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกายสติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
            ข้อที่ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

4.จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

ข้อที่ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

5.จรรยาบรรณต่อสังคม

ข้อที่ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
 ที่มา http://www.kruchiangrai.net

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประโยชน์ของ "น้ำมะพร้าวอ่อน"








1. อุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด 
น้ำมะพร้าวถือเป็นเครื่องดื่มเกลือแร่จากธรรมชาติ (Natural Mineral Drink) เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด เช่น โพแทสเซียม เหล็ก โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ และวิตามินบี แถมยังมีน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้เป็นพลังงานได้ทันทีอีกด้วย 
2.ชะลออาการอัลไซเมอร์ 
การดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะช่วยชะลออาการอัลไซเมอร์ได้ จากผลงานวิจัยของ ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจนสูง ซึ่งมีผลช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทองนอกจากนี้ การดื่ม น้ำมะพร้าวเป็นประจำทุกวันยังสามารถช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าปกติ และไม่ทิ้งรอยแผลเป็นอีกด้วย 
3.ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง 
น้ำมะพร้าวสามารถช่วยเสริมสร้างความสวยใสของผิวพรรณทำให้เปล่งปลั่งและขาวนวลขึ้นจากภายในสู่ภายนอก เพราะในน้ำมะพร้าวมีเอสโตรเจนอยู่ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้าง  คอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ และในน้ำมะพร้าวยังสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ได้ดีแถมยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย (คล้าย ๆ กับการดีท็อกซ์) จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส อีกทั้งความเป็นด่างของน้ำมะพร้าวยังช่วยปรับสมดุลของร่างกายในช่วงที่มีความเป็นกรดสูง ทำให้กลไกการทำงานของระบบภายในเป็นปกติ ส่งผลให้มีสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก 

4.สปอร์ตดริ๊งค์จากธรรมชาติ 
เนื่องจากน้ำมะพร้าวมีปริมาณเกลือแร่ที่จำเป็นสูง รวมทั้งมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาความอ่อนเพลียเนื่องจากอาการท้องเสียหรือท้องร่วงได้ จึงจัดเป็นสปอร์ตดริ๊งค์ (Sport Drink) สามารถดื่มหลังการสูญเสียเหงื่อจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย นอกจากนี้ ในประเทศไต้หวันและประเทศจีน ยังนิยมดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อลดอาการเมาหลังการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย 

5. น้ำมะพร้าวดื่มได้ทุกวัน 
ทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติ ทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่เป็นอันตรายเหมือนน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือน้ำที่ผ่านการปรุงแต่ง เพราะไม่ทำให้เกิดพิษหรือท็อกซินขึ้นในร่างกายแต่สำหรับคนที่เป็นโรคไตและโรคเบาหวานไม่ควรดื่ม เพราะน้ำมะพร้าวมีความหวาน ไม่เหมาะกับโรคดังกล่าว
6.น้ำมะพร้าวเป็นอาหารบริสุทธิ์
 และเต็มไปด้วยกลูโคสที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปใช้ได้ง่าย นอกจากนั้นมะพร้วยังเป็นผลไม้ที่มีความเป็นด่างสูง สามารถรักษาโรคที่เกิดจากร่างกายมีความเป็นกรดมากเกินไป หมอพื้นบ้านไทยถือกันว่า มะพร้าวเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูกได้ ส่วนคนจีนเชื่อว่า น้ำมะพร้าวมีฤทธิ์เป็นกลาง ไม่เป็นทั้งหยินและหยาง มีสรรพคุณในการขับพยาธิ สำหรับคนไข้ที่อาเจียนและท้องร่วงในเวลาเดียวกัน สามารถดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมกลูโคสไปใช้ในเวลาอันรวดเร็วได้
7. น้ำมะพร้าวเปิดลูกแล้วควรดื่มเลย 

ไม่ควรทิ้งไว้นาน ถ้าเราตัดหรือหั่นผลไม้อย่าทิ้งไว้เกินครึ่งชั่วโมง แม้จะเก็บในตู้เย็นก็ตามควรกินให้หมดในครั้งเดียว ผลไม้แต่ละอย่างจะมีพลังชีวิต ถ้ากินผลไม้สุกจากต้นจะได้รับพลังชีวิตสูง หากเก็บทิ้งค้างไว้ คุณค่าของผลไม้จะลดต่ำลงเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เก็บ

ที่มา : http://women.thaiza.com